วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Vlookup และการทำ Drop-Down

Vlookup และการทำ Drop-Down

จากที่เราเคยลองจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้ IF มาแล้วในบทความที่แล้ว คราวนี้เราจะลองใช้ฟังก์ชั่นที่จะทำให้เราดึงค่าของข้อมูลตามเงื่อนไขได้ง่ายขึ้น
นั่นคือ Vlookup ในที่นี้หลักการทำงานของ Vlookup กับ Hlookup เหมือนกันทุกประการต่างกันตรง Vlookup จะใช้กับชุดข้อมูลในแนวตั้ง
ส่วน Hlookup จะใช้กับชุดข้อมูลในแนวนอน ดังนั้นผมจะพูดถึงเฉพาะ Vlookup เท่านั้น เนื่องจากชุดข้อมูลส่วนใหญ่มักจะเป็นแนวตั้งเสมอ

หลักการณ์ของ Vlookup เป็นดังนี้
VLOOKUP: (lookup_value, table_array, col_index_num, [range_lookup])
1.lookup_value คือ ตัวเลข, เซลล์, พจน์ ที่เราจะใช้เป็นเกณฑ์ในการประมวลผล
2.table_array คือ ช่วงเซลล์ทั้งหมดที่ครอบคลุบ  ตัวเลข, เซลล์, พจน์ ที่เราจะใช้เป็นเกณฑ์ในการประมวลผล และผลลัพธ์ที่ต้องการ
3.col_index_num คือ column number ที่เราต้องการให้ดึงค่าผลลัพธ์
4.range_lookup True,1 จะดึงค่าใกล้เคียงที่สุดมาหากไม่เจอตามเงื่อนไข  False,0 จะดึงเฉพาะค่าที่ตรงเงื่อนไขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ตัวอย่างที่1 เราต้องการหาว่า Tony สามารถทำยอดขายได้เท่าไหร่  =VLOOKUP(B19,B2:F16,5,FALSE)ผลลัพธ์จะส่งไปยัง cell สีเหลือง
1.lookup_value คือ B:19
2.table_array คือ B2:F16 คลุมข้อมูลทั้งหมด
3.col_index_num คือ 5 นับจาก name เป็นcolumnที่1
4.range_lookup คือ False เพราะเราต้องการข้อมูลที่ตรงเป๊ะอย่างเดียว



Tony ทำยอดขายได้  31,500  จะเห็นว่าแม้จะเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ก็ง่ายแก่การจัดการขึ้นมาทันที ต่อให้มีเป็นล้านๆCells ก็เอาอยู่

มีอีกสิ่งหนึ่งที่ปรากฎในตัวอย่างที่ 1 นั่นคือ Drop-Down ที่จะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้นในการดึงดูข้อมูล คือ เราไม่ต้องลบและกรอกชื่อใหม่ใน B:19 หรือไม่ต้องเขียนสูตรใหม่เรื่อยๆ
มาลองดูวิธีสร้าง Drop-Down กับเลยครับ
1.คลิ๊กที่cell ที่จะให้มี Drop-Down
2.คลิ๊กที่ menu Data เลือก Data Validation
3.กำหนดค่าใน data validation box โดย Allow = List และ Sorce = ช่วงcellsที่มีข้อมมูลที่ต้องการ
ลองมาทำตามภาพประกอบเลยครับ



เห็นไหมครับ คูล มากๆ ชิกๆ ใสๆ
ติดตามตอนต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น