Break Even Point (จุดคุ้มทุน)
หากจะพูดถึงหลักการทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการ Run ธุรกิจให้สามารถอยู่ได้ หลายๆครั้ง เรามักจะพูดถึง "Break Even Point" BEP. "จุดคุ้มทุน"
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์กับต้นทุนทางบัญชีนั้นแตกต่างกัน ซึ่งผมจะไม่พูดถึงรายละเอียด ทางบัญชีจะถือว่ากำไรคือ รายรับ > รายจ่าย
แต่ในทางเศรษฐศาสตร์เราจะถือว่า รายรับ = รายจ่าย คือกำไรปกติ ดังนั้นจุดที่ รายรับ = รายจ่าย จึงถือว่าเป็นจุดคุ้มทุน
ต่อไปเราก็ต้องมารู้จักคำศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์คร่าวๆ ที่จำเป็นกันก่อนครับ
1.Price ราคา (p)
2.Quantity ปริมาณ (q)
3.Fix Cost ต้นทุนคงที่ (FC)
4.Valiable Cost ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย (VC)
5.Total Revenue รายรับ (TR)
6.Total Cost รายจ่าย (TC)
คำนวณ Break Even Point จุดคุ้มทุน
BEP. TR = TC
p*q = FC+VC
ตัวอย่างที่ 1 ธุรกิจผลิตเสื้อผ้า มีต้นทุนที่เป็นต้นทุนคงที่ 1,000,000 บาท มีต้นทุนผันแปรต่อหน่วย 35 บาท ตั้งราคาขายไว้ที่ 150 บาท/หน่วย
ถ้าเราอยากทราบว่าต้องขายเสื้อให้ได้กี่ตัวจึงจะคุ้มทุน หรือได้กำไรปกติในทางเศรษฐศาสตร์ เราลองมาดูไปพร้อมกันครับ
จาก BEP. TR = TC
p*q = FC+VC
150*q = 1,000,000 + (q*35)
150 - 35 = 1,000,000/q
จะได้ว่า q = 1,000,000/115 = 8,695.652 หรือ 8,696 ตัว
ตัวอย่างที่ 2 ธุรกิจผลิตเสื้อผ้า มีต้นทุนที่เป็นต้นทุนคงที่ 1,000,000 บาท มีต้นทุนผันแปรต่อหน่วย 35 บาท ตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถขายได้ 9,400 ตัว
ถ้าเราอยากทราบว่าต้องตั้งราคาขายกี่บาทจึงจะคุ้มทุน
จาก BEP. TR = TC
p*q = FC+VC
p*9,400 = 1,000,000 + (9,400*35)
p = 1,329,000/9,400
จะได้ว่า p = 141.383 หรือ 142 บาท/ตัว
เสร็จจากเรื่องตัวเลขไปแล้วเราลองมาดูกราฟเพื่อผ่อนคลายกันดีกว่าครับ
จากรูปจะเห็นได้ว่า จุดสัมผัสระหว่าง TR กับ TC ก็คือ BEP หรือจุดคุ้มทุนนั้นเอง ในระยะแรกจะเห็นได้ว่าธุรกิจขาดทุน คือ เส้น TR ต่ำกว่า TC
ขาดทุนในต้นทุนรวมพื้นที่ A และขาดทุนในต้นทุนผันแปรพื้นที่ B กำไรเกินปกติคือพื้นที่ C
เป็นไงบ้างครับพอจะเข้าใจคร่าวๆแล้วรึเปล่า
Cr : เชฟหมูตุ๋น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น